วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เบาหวาน "ภัยเงียบ" หรือ "เพชฌฆาตมืด" ในโลกปัจจุบัน



       วันเบาหวานโลก: เบาหวานได้ชื่อว่าเป็น "ภัยเงียบ" หรือ "เพชฌฆาตมืด" (silent killer) เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกแข็งแรงเช่นคนปกติทั่วไป จะไม่รู้ว่าตัวเองมีโรคเบาหวานซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งจะค่อยๆ บ่อนทำลายร่างกายลงทีละน้อย จนในที่สุดปรากฏอาการของโรคแทรกซ้อนอันตราย เช่น โรคหัวใจ อัมพาต โรคติดเชื้อต่างๆ
      ปกติแล้วผู้มีระดับน้ำตาลในเลือด (หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง) ตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป ก็ถือว่าเป็นเบาหวาน แพทย์แนะนำให้ควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 70-130 มก./ดล. (เต็มที่อนุโลมให้ไม่เกิน 150) จะปลอดภัยดี แต่ผู้ป่วยที่มีค่าน้ำตาลระหว่าง 100-200 มก./ดล. จะไม่มีอาการแสดงแต่อย่างใด อาการปัสสาวะบ่อยและกระหายน้ำบ่อยจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีค่าน้ำตาลตั้งแต่ 200 ขึ้นไป ซึ่งแม้รู้สึกสบายดีก็ยังมีโรคเบาหวานและอันตรายจากโรคนี้แอบแฝงอยู่
       เบื้องหลังอุปสรรคของการรักษาเบาหวาน - ผู้ป่วยบางคนมีค่าน้ำตาลสูงนิดๆ (ไม่เกิน 200) มักจะรู้สึกสุขสบาย แต่ถ้าคุมให้เหลือ 70-130 ตามเป้าหมายอันพึงประสงค์กลับรู้สึกอ่อนเพลีย มึนงง ไม่สุขสบาย หรือถ้าเคยเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีอาการเป็นลม ซึ่งเป็นประสบการณ์เฉียดตายอันน่าสะพรึง ผู้ป่วยก็จะพยายามรักษาระดับน้ำตาลให้สูงไว้ มากกว่าคุมให้ต่ำ บางคนก็จะแอบปรับขนาดยาเองตามอำเภอใจ ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ถูกต้องหลายคนทราบว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคเบาหวาน แต่คุณทราบหรือไม่ว่าคุณเป็นเบาหวานชนิดใด ? เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2        เบาหวานชนิดที่ 1 จัดว่าเป็นเบาหวานชนิดรุนแรง มักเป็นได้ตั้งแต่วัยเด็กและคนอายุต่ำกว่า 20 ปี โดยที่ไม่มีภาวะน้ำหนักเกินและมีอาการไม่สบายชัดเจน คือปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย หิวข้าวบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด จำเป็นต้องรักษาด้วยยาฉีดอินซูลินทุกวัน เนื่องจากผู้ป่วยชนิดนี้เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ค่ะ
       เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็น มักพบในคนอายุมากกว่า 30 ปีที่มีรูปร่างท้วม น้ำหนักเกินหรืออ้วน แต่ที่น่าตกใจคือปัจจุบันพบเบาหวานชนิดนี้ในเด็กอ้วนบ่อยขึ้น ซึ่งมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่โรคเบาหวานชนิดนี้มักตรวจพบเมื่อมีการตรวจเช็คสุขภาพ โดยร่างกายแข็งแรงดี แต่ระดับน้ำตาลสูงถึงขั้นที่เป็นโรค (ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 มก./ดล.) แต่ยังไม่สูงมากถึงขั้นแสดงอาการ (ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 200 มก./ดล.)

        อินซูลินเกี่ยวกับเบาหวานอย่างไร? อินซูลินเป็นสารที่ผลิตโดยตับอ่อน ทำหน้าที่นำน้ำตาล หรือกลูโคสจากกระแสเลือดเข้าสู่ภายในเซลล์ เพื่อการเผาผลาญให้เกิดพลังงาน ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติ ถ้าร่างกายขาดอินซูลินอย่างรุนแรง (โรคเบาหวานชนิดที่ 1) หรือว่าร่างกายดื้อต่ออินซูลิน นั่นคือมีอินซูลินพอเพียงแต่ทำหน้าที่ไม่ได้ (โรคเบาหวานชนิดที่ 2) ก็จะเกิดการคั่งของน้ำตาลในกระแสเลือดและขับออกมาทางปัสสาวะ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า "เบาหวาน" หรือถ่าย "เบา" โดยมีน้ำตาลขับออกมาด้วย
       น้ำำตาลเป็นสารให้ความหวานที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านการให้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลูโคสซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการให้พลังงานแก่สมอง และช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารเคมีในสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่นและช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นอีกด้วย แม้ว่าน้ำตาลมีประโยชน์ก็
จริง แต่ให้พลังงาน ไม่ให้คุณค่าทางโภชนาการ และคนส่วนใหญ่ก็ได้รับน้ำตาลจากธรรมชาติจากอาหารที่รับประทานทุกวัน เช่น ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว ผักผลไม้ตามธรรมชาติ เป็นต้น ดังนั้นการเติมน้ำตาลเพิ่มเติมจากการดื่มเครื่องดื่มหวานๆ น้ำอัดลม เติมน้ำตาลเพิ่มในอาหาร หรือกินขนมหวาน ขนมขบเคี้ยวก็ควรงดค่ะ


       
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ปริมาณน้ำตาลไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่ได้รับในหนึ่งวัน ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ก็มีการแนะนำว่าอาหารประเภทน้ำมัน เกลือ น้ำตาลให้กินแต่น้อยเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะน้ำตาล กำหนดว่าไม่ควรกินเกิน 4 ช้
อนชา สำหรับผู้ต้องการพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี / ไม่ควรกินเกิน 6 ช้อนชา สำหรับผู้ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี และไม่เกิน 8 ช้อนชา สำหรับผู้ต้องการพลังงาน 2,400 กิโลแคลอรี ซึ่งน้ำตาลปริมาณนี้คิดเป็นร้อยละ 5 โดยเฉลี่ย ส่วนน้ำตาลปริมาณที่เหลือเผื่อไว้สำหรับอาหารอื่นๆ ซึ่งไม่ทราบปริมาณ เช่น จากข้าว ขนมปัง ผักประเภทหัวอย่างเผือก มัน ฟักทอง ผลไม้ที่มีรสหวานตามธรรมชาติอย่างกล้วย มะละกอ แตงโม เป็นต้นค่ะ


        
กินหวานอันตรายอย่างไร? ถ้าหากร่างกายได้รับกลูโคสเข้าไปมากเกินกว่าที่เซลล์ร่างกายต้องการใช้ พลังงานส่วนเกินนี้ก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อในรูปของไกลโคเจน (glycogen) เพื่อเป็นพลังงานสำรองเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น นอกจากนี้ร่างกายยังเปลี่ยนน้ำตาลที่ล้นเกินให้กลายเป็นไขมันอีกด้วย เพราะฉะนั้นคนที่ชอบกินของหวานๆ แต่ไม่ได้เผาผลาญหรือออกกำลังกายอย่างเพียงพอ ก็จะมีปัญหาน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น!
        
อาหารอาจมีน้ำตาลเกินแบบไม่รู้ตัว? น้ำตาลที่เรากินกันในชีวิตประจำวัน นอกจากในขนมหวานแล้ว ยังมีอยู่ในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ในน้ำสลัด แยม ขนมเค้ก โยเกิร์ต ไอศกรีม น้ำอัดลม ซอสปรุงรส ขนมปัง เป็นต้น ดังนั้นการกินอาหารสำเร็จรูปและอาหารปรุงแต่งเหล่านี้มากเท่าไร ก็จะได้น้ำตาลส่วนเกินมากขึ้นเท่านั้น แล้วน้ำตาลที่เกินความต้องการของร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมอยู่ตามอวัยวะต่างๆ
         หวานมากมักอันตราย! นอกจากโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ และโรคฟันผุแล้ว การกินน้ำตาลมากยังมีผลโดยอ้อม นั่นคือทำให้ร่างกายได้รับเส้นใยจากอาหารน้อยลง เพราะน้ำตาลมักจะถูกนำไปปรุงประกอบในอาหารที่มีแป้งและไขมันเป็นหลัก เพราะฉะนั้นคนที่ติดอาหารรสหวาน จึงมักเป็นผู้ที่กินอาหารที่มีเส้นใยต่ำเป็นส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน การมีเส้นใยอาหารน้อยทำให้เกิดอาการท้องผูกได้บ่อย

         
เบาหวานทำร้ายทั่วร่าง: หลอดเลือดแดงทั้งขนาดใหญ่และเล็กทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เช่น จอประสาทตาเสื่อม (ตามัว ตาบอด) ไตวายเรื้อรัง (ถึงขั้นต้องฟอกไต) ประสาทเสื่อม (ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผ
ูกเรื้อรัง อาการโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (ถึงขั้นหัวใจวายกะทันหัน ซึ่งเป็นสาเหตุการตายฉับพลันของผู้ป่วยเบาหวาน) อัมพาต ความจำเสื่อม ภาวะเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะเป็นอย่างถาวร แม้ว่าต่อมาจะสามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีก็ไม่ได้ช่วยให้ฟื้นคืนสู่ปกติได้ คือมีแต่ทรงกับทรุดลงเท่านั้น
       
         
เบาหวานมักเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต ถ้าปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแลรักษาอย่างถูกต้องก็อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายรุนแรงฉับพลันได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างสะสมจนทำให้อวัยวะต่างๆ เสื
่อมจนเกิดโรคแทรกซ้อนเกือบทุกระบบ แต่ถ้ารู้จักดูแลรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องก็สามารถคุมโรคได้ตามเป้าหมายพึงประสงค์ ผู้ป่วยก็จะชะลอไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขเฉกเช่นคนทั่วไป และมีชีวิตยืนยาว อาจอยู่ถึง 80-90 ปีได้

         เด็กก็เป็นเบาหวานได้! ขึ้นชื่อว่าโรคเบาหวาน คนส่วนใหญ่มักนึกถึงกลุ่มผู้ใหญ่วัยเกิน 40 ปี คนอ้วนและผู้สูงอายุ แต่ทุกวันนี้เด็กวัยเรียน-วัยรุ่นก็เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น อ้างอิงจากบทความของผศ.พญ.จีรันดา สันติประภพ โรงพยาบาลศิริราช ระบุว่า จากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา มีผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนอายุตั้งแต่ 6-18 ปี 125 ราย และมีน้ำหนักเฉลี่ย 80 กิโลกรัม ซึ่งพบว่าร้อยละ 3 เป็นเบาหวานแล้วแต่ไม่มีอาการเลย และร้อยละ 21 ตรวจน้ำตาลพบว่า มีระดับน้ำตาลสูงผิดปกติแต่ยังไม่ถึงขั้นเบาหวาน หากยังไม่ลดน้ำหนัก อนาคตก็มีโอกาสเป็นเบาหวานสูง! ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามให้ลูกๆ เลี่ยงพฤติกรรมการดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม ติดเกม นั่งดูทีวี กินขนมทั้งวันนะคะ

         
อะไรทำให้เด็กเป็นโรคเบาหวานก่อนวัยอันควร? เด็กที่เป็นโรคอ้วนมักจะมาจากปัญหาการขาดวินัยในครอบครัว เด็กจะตื่นกี่โมงก็ได้ ซื้อขนมถุง กินนอนกับดูโทรทัศน์ กินแต่ของทอด ชอบดื่มน้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่มีรสหวานๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องช่วยกันดู ช่วยก
ันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกและสร้างนิสัยการกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งกระตุ้นให้เด็กได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การลดน้ำหนักโดยการคุมอาหารและออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนใหญ่คนอ้วนที่สามารถลดน้ำหนักลงได้ประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวก็จะส่งผลดีต่อร่างกายแล้ว แต่ต้องทำสม่ำเสมอและต่อเนื่องค่ะ

         กินหวานไปก็ทำให้เกิดสิว! นายแพทย์คอร์เดียน (Cordain) และคณะรายงานเคยรายงานในการศึกษาว่า คนบางกลุ่ม (เช่น ชนเผ่าบางเผ่าในปารากวัย ปาปัวนิวกินี ฯลฯ) ไม่เป็นสิว ทั้งๆ ที่สิวเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก จึงตั้งทฤษฎี “การได้รับน้ำตาลน้อย” ว่า เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาล และแป้งน้อยก็จะไม่นำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะอินซูลินในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่การผลิตสารไอจีเอฟ-1 (IGF-1, insulin-like growth factor-1) เพิ่มขึ้น สารไอจีเอฟ-1 นี่เองที่ทำให้ผิวหนังแบ่งตัวเร็วและหนาตัวขึ้นด้วย ทำให้รูขุมขนแคบลงเกิดการอุดตันได้ง่าย จึงเป็นสิวง่ายขึ้น! ทั้งนี้“ภาวะน้ำตาลน้อย” นี้ยังมีส่วนยับยั้งการผลิตแอนโดรเจน (ฮอร์โมนเพศชาย) ให้พอดี ไม่มากเกินไปเพราะถ้าฮอร์โมนเพศชายมากเกินจะมีการสร้างไขมันที่ผิวหนังมาก จึงเป็นสิวได้ง่ายขึ้นค่ะ

        เบาหวานทำลายผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย! ทั้งหลอดเเลือดใหญ่และหลอดเลือดฝอย ภาวะปลายประสาทอักเสบที่เกิดจากโรคเบาหวานนับว่าเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยประมาณ 50% ของผู้เป็นโรคเบาหวาน โดยมีอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน เช่น สูญเสียการควบคุมการทำงานระบบย่อยอาหาร และอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้เบาหวานยังเป็นสาเหตุหลักของอาการไร้สมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย หากมีภาวะเบาหวานขึ้นตา หรือการทำลายจอประสาทตา ก็จะทำให้ตาบอด โรคเบาหวานยังเป็นหนึ่งสาเหตุที่สำคัญของอาการไตวาย และยังเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของสู่การตัดขาและเท้าที่ไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บค่ะ

      มาลดอ้วน-ออกกำลังกายต้านเบาหวานกัน! อ้างอิงรายงานเรื่องโรคเบาหวานจากองค์การอนามัยโลกที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ระบุว่า “จากการศึกษาประชากรกลุ่มใหญ่ในประเทศจีน แคนาดา สหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในทวีปยุโรปแนะนำว่า การลดน้ำหนักระดับปานกลางและการเดินครึ่งชั่วโมงทุกวัน สามารถลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเบาหวานมากกว่าครึ่ง ในกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะต้านทานกลูโคสบกพร่องระดับไม่รุนแรง”

      
อินซูลินกับโรคเบาหวาน...อินซูลินเป็นเหมือนกุญแจที่ไขประตูให้เปิดออกเพื่ออนุญาตให้กลูโคสเข้ามาในเซลล์ เราเคยคิดว่า ปัญหาอย่างเดียวของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ตับอ่อนของผู้ป่วยผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ระยะแรกของกระบวนการเกิดโ
รค ปัญหาไม่ใช่ “กุญแจ” ของการผลิตอินซูลิน แต่เป็น “ตัวล็อก” หรือตัวรับอินซูลินในผนังเซลล์ที่ต่อต้านอินซูลิน เมื่อร่างกายรู้สึกว่ามีกลูโคสไม่เพียงพอต่อการเข้าหาเซลล์ จึงสั่งให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินเพิ่ม และทำให้มีอินซูลินอยู่ในเลือดมากเกิน ซึ่งเกิดอันตรายได้ค่ะ

      
ทราบอย่างไรว่าคุณเป็นโรคเบาหวาน? ตามรายงานจากสมาคมเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา การวินิจฉัยของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อิงจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้:
1. ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด หลังงดอาหารอยู่ที่ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือมากกว่า
2. แสดงอาการของโรคเบ
าหวาน ประกอบกับมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังรับประทานอาหารปกติอยู่ที่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือมากกว่า
3. มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระหว่างการทดสอบโดยให้ดื่มน้ำตาลกลูโคสและเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะ

       ตรวจอะไรถึงรู้ว่าเสี่ยงเบาหวาน? ภาวะต้านทานกลูโคสบกพร่อง (Impaired glucose tolerance) เป็นการทดสอบการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนหลังดื่มสารละลายกลูโคส 75 กรัมและเจาะวัดระดับน้ำตาลในเลือด คนปกติจะสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงมาได้ภายใน 2 ชั่วโมง แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะใช้เวลานานกว่านั้น ดังนั้นการตรวจหาภาวะต้านทานกลูโคสบกพร่องจึงเป็นการตรวจหาความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานนั่นเองค่ะ

        ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ กรุณาปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษาอย่างเคร่งครัด และพยายามเอาชนะโรคเบาหวานให้ได้ ทั้งนี้เคล็ดลับที่ช่วยให้คุณพึ่งพายาลงลด หรือชะลอความรุนแรงของโรคได้คือ ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และกรดไขมันโอเมก้า-6 800, 801 แหล่งสำคัญของกรดไขมันชนิดนี้คือ เนื้อแดง 802, 803 น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง และน้ำมันอื่นๆ เช่น น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันที่ผ่านกระบวนการไฮโดรจีเนตบางส่วน

        

** อ้างอิงจากเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่ไม่ติดต่อขององค์การอนามัยโลก ระบุว่ามีประชากรปัจจุบันอย่างน้อย 180 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคเบาหวาน และจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงถึง 360 ล้านคน ภายในปี 2030 และทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานถึง 4 ล้านคนทุกปี
อ้างอิง The Optimal Health Revolotion (endnote ที่ 754)

Credit ข้อมูล  ขอบคุณ https://www.facebook.com/nutrilitethai ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น